วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

week2 26/8/2558

กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


           กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                 • ด้านร่างกาย

                 • ด้านอารมณ์

                 • ด้านสังคม

                 • ด้านสติปัญญา

                -           ความรู้
                -           ทักษะ
                -           เจตคติ (ลักษณะนิสัย)
                -           IQ
                -           EQ
                -           MQ
                -           Etc


แนวทางในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

        การวิเคราะห์หลักสูตร => การจัดการเรียนรู้ => ผู้เรียนเป็นสำคัญ

           

แนวคิดของจอร์น ดิวอี้ (John Dewey)

ประวัติ

     จอห์น ดิวอี้ (อังกฤษ: John Dewey) (20 ตุลาคม ค.ศ. 1859 – 1 มิถุนายน ค.ศ. 1952) เป็นนักปรัชญา 
นักจิตวิทยา และนักปฏิรูปการศึกษาชาวอเมริกัน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัย   เวอร์มอนต์ ในปี ค.ศ. 1879 หลังจากนั้นใช้เวลาว่างช่วงสั้นๆ เป็นอาจารย์สอนพิเศษที่โรงเรียนมัธยม 
แห่งหนึ่ง ก่อนจะกลับมาศึกษาต่อจนจบปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ในปี ค.ศ. 1884
          ดูอีเคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิชาปรัชญา จิตวิทยา และการสอน ของมหาวิทยาลัยชิคาโก 
เขามีบทบาทสำคัญในการบุกเบิกแนวคิดและวิธีการสอนแบบใหม่ๆ ทั้งยังได้สร้างโรงเรียนสาธิตขึ้น 
เพื่อใช้สำหรับทดสอบพัฒนาและวิเคราะห์ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนการสอนและที่สำคัญ ยังถือได้ว่าเขา 
เป็นนักปรัชญาทางการศึกษาแนวหน้าของโลก โดยมีปรัชญามากมายซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่แตกแขนง ออกไปอย่างมากมาย

 แนวคิด
การเรียนรู้จากการกระทำ (Learning  by Doing) ที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง
จากการทำจริงในทุกกสถานการณ์จริง

หลักการที่สำคัญของการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (กรมวิชาการ, 2544)

1. การวิเคราะห์ผู้เรียน

2. การใช้จิตวิทยาการเรียนรู้

3. การวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

4. การออกแบบการเรียนรู้ตามสภาพจริง

5. การออกแบบการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง


แนวทางในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1. หลักการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ต้องตอบคำถามต่อไปนี้

-  สอนเพื่อใคร

- สอนเพื่ออะไร

- สอนอย่างไร

- สอนทำไม

- สอนแล้วจะเกิดผลอะไรบ้าง

แผนการสอนจึงต้องกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ / แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนบรรลุตามจุดประสงค์ / กำหนดวิธีการวัดผลการเรียนรู้

2.  ขั้นตอนการเขียนแผนการสอน

  -  กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

  -  จุดประสงค์รายวิชาต้องครอบคลุม ความรู้ทักษะ และเจตคติ

 -  กำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอน

 - เทคนิคการสอน/สื่อและเทคโนโลยี

 - การวัดและการประเมินผล


กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบการสอน






วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

week1 19/08/2558

         

 Present 

      วันนี้เป็นวัน Present งานเกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาทางการเรียนคอมพิวเตอร์ จากสัปดาห์แรกที่อาจารย์ได้สั่งงาน ก่อนที่จะพรีเซนต์ อาจารย์มีใบงานให้ทำก่อนเรียน คือ ให้เขียนชื่อเพื่อนลงไปตามเวลาที่กำหนดให้ 


หลังจากเขียนรายชื่อเพื่อนเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ได้เลือกเวลา คือ 9;00 เราเขียนชื่อคนไหนก็ให้จับคู่กับเพื่อนที่เราได้เขียนลงไป อาจารย์มีคำถามให้ คือ 

1. มนุษย์เรียนรู้ได้จากใคร/ที่ใดบ้าง
ตอบ  1. เรียนรู้จากคุณครู
         2. เรียนรู้จากพ่อ-แม่ 
         3. เรียนรู้จากเพื่อนร่วมงาน
         4. เรียนรู้จากหนังสือ
         5. เรียนรู้จากสิ่งมีชีวิตรอบกาย
         6. เรียนรู้จากเว็บไซต์

2. ทำไมต้องจัดการเรียนรู้
ตอบ  เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่คาดหวังไว้

3. การจักการเรียนรู้ที่ดีต้องคำนึงถึงอะไร
ตอบ  1. ความต้องการของผู้เรียน
         2. สื่อการเรียนรู้
         3. จุดประสงค์ของการเรียนรู้
         4. สภาพแวดล้อมทั่วไปของแห่งเรียนรู้

ความรู้เพิ่มเติม การเรียนรู้ที่ดีต้องคำนึงถึง 
         1. เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
         2. มีส่วนร่วมในการเรียนรู้
         3. แรงจูงใจแรงบันดานใจ
         4. จุดประสงค์ของการเรียนรู้

จุดมุ่งหมายของหลักสูตร (พรบ.การศึกษา)
         1. เป็นคนดี
         2. มีปัญญาดี
         3. มีคุณภาพชีวิตที่ดี
         4. มีความสามรถในการแข่งขัน
         5. เพิ่มศักยภาพของผู้เรียน
         6. ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

การเรียนรู้แบ่งเป็น 3 อย่าง คือ 
         1.Congnitive Domain เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านความรู้ ความเข้าใจ เช่น การเรียนรู้ความคิดรวบยอด
         2.  Affective  Domain   เป็นพฤติกรรมทางด้านจิตใจ ซึ่งจะเกี่ยวกับค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง
         3. Psychomotor Domain  เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายเพื่อให้เกิดความชำนาญหรือทักษะ เช่น การว่ายน้ำ เล่นกีฬาต่างๆ เล่นดนตรี เป็นต้น 

       ต่อมาเป็นการพรีเซนต์งาน ที่กลุ่มของดิฉันได้ไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาทางการเรียนคอมพิวเตอร์จากโรงเรียนอนุบาลจันทบุรี (พระยืน)



          หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้ความรู้เพิ่มเติม จากที่นักศึกษาได้ออกไปนำเสนองาน อาจารย์ได้ให้คำแนะนำกับนักศึกษา  แล้วให้นักศึกษาได้คิดตามหัวข้อที่อาจารย์ได้กำหนดให้ นักศึกษาควรจะแก้ปัญหาอย่างไรและทำสื่ออย่างไรให้ตรงตามจุดประสงค์และความต้องการของผู้เรียน