วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

Week5 23/09/58



การถ่ายโยงการเรียนรู้



การถ่ายโยงการเรียนรู้ หมายถึง การนำสิ่งที่เรียนรู้แล้วในอดีตมาใช้แก้ปัญหา หรือ นำมาสัมพันธ์กับสภาพกาลใหม่ใหม่ในปัจจุบัน หรือ อนาคต

ความสำคัญของการถ่ายโยงการเรียนรู้
ทำไมครูเข้าใจถึงวิธีการสอนพี่จะช่วยให้เด็กเกิดการนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ 
ทำให้ครูจัดหลักสูตรที่เหมือนหรือสัมพันธ์กับชีวิตจริงนอกโรงเรีย
ทฤษฎีการถ่ายโยงการเรียนรู้
1 ทฤษฎีองค์ประกอบเดียวกัน (Identical-element) ของ Edward lee thondike 1913
2.ทฤษฎีการสรุปรวม (generalization)
3 ทฤษฎีความคล้ายคลึงกันของการประมวลผลสาระสนเทศ(Similarity of information processing)


ทฤษฎีองค์ประกอบเดียวกัน (Identical-element)
 Edward lee thondike

              ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง กล่าวถึง การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยมีหลักพื้นฐานว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่มักจะออกมาในรูปแบบต่างๆ หลายรูปแบบ โดยการลองถูกลองผิด จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีและเหมาะสมที่สุด                                                                                                         
การสอนให้เกิดการถ่ายโยงการเรียนรู้
  1. ในการสอนควรชีให้ผู้เรียนเห็นถึงสิ่งที่ผู้เรียนจะนำไปใช้ได้ในอนาคตและควรให้โอกาสฝึกหัดจนจำได้           
  2. การสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายสอนในสิ่งที่ผู้เรียนจะนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้โดยตรง   สอนหลักการวิธีดำเนินการทักษะและวิธีการแก้ปัญหาที่ผู้เรียนจะสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ใหม่             
  3. จัดสภาพในโรงเรียนให้คล้ายครึ่งกับชีวิตจริงที่นักเรียนจะไปประสบนอกโรงเรียนเช่นถ้าต้องการให้ผู้เรียนรู้จักทำงานเป็นกลุ่มรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นควรจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่มมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรู้จักยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง                                                                                 
  4. ควรจัดให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกหัดงานที่จะต้องออกไปทำจริงๆจนมีความมั่นใจ                                                     
  5. เมื่อสอนหลักเกณฑ์หรือความคิดรวบยอดควรจะให้โอกาสนักเรียนได้เห็นตัวอย่างหลายหลายอย่าง                  
  6. ใช้ยุทธศาสตร์การสอนที่จะช่วยให้เกิดการถ่ายโยงเช่นยุทธศาสตร์การเรียนรู้ด้วยการค้นพบของพูเนอร์            
  7. ยุทธศาสตร์การเรียนด้วยการสังเกตของแบนดูร่ายุทธศาสตร์ในการคิดแก้ปัญหาเช่นการเก็บข้อมูลนิวยอร์ก      
  8. กระตุ้นและช่วยให้ผู้เรียนนำหลักการและความคิดต่างๆที่ได้เรียนมาแล้วมาใช้ในสถานการณ์โดยทั่วๆไปโดย   กระตุ้นให้เด็กมองเห็นความเหมือนหรือความแตกต่าง                                                                                        
  9. สอนโดยจงใจที่จะให้เกิดการไทยอยู่เช่นการสอนเรื่องเพศโดยให้สังเกตจากสัตว์ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจถึงการเกิดของสิ่งมีชีวิตเป็นต้น

การสอนให้เกิดการถ่ายโยงการเรียนรู้
  1. ใช้ยุทธศาสตร์การสอนที่จะช่วยให้เกิดการถ่ายโยง เช่น ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ด้วยการค้นพบของบรูเนอร์   ยุทธศาสตร์การเรียนรู้ด้วยการสังเกตของแบนดู ยุทธศาสตร์ในการคิดแก้ปัญหา เช่น การเก็บ ข้อมูล New York                                                                                                                                                                    
  2. กระตุ้นและช่วยให้ผู้เรียนนำหลักการและความคิดต่างๆ ที่ได้เรียนมาแล้วมาใช้ในสถานการณ์โดยทั่วไปๆไป โดย กระตุ้นให้เด็กมองเห็น ความเหมือนหรือความแตกต่าง                                                                                
  3. สอนโดยจงใจที่จะให้เกิดการถ่ายโยง เช่น การสอนเรื่อง เพศโดยให้สังเกตจากสัตว์ ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าถึงการเกิดของสิ่งมีชีวิต เป็นต้น
ประเภทของการถ่ายโยงการเรียนรู้ 
  1. การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก  หมายถึง การเรียนรู้เดิมที่เคยเรียนรู้แล้วช่วยให้การเรียนรู้สิ่งใหม่เร็วขึ้น เช่น   ขี่จักรยานเป็นแล้วทำให้ขี่มอเตอร์ไซค์ได้เร็วขึ้น                                                                                         
  2. การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ หมายถึง การเรียนรู้เดิมทำให้การเรียนรู้สิ่งใหม่ช้าลงหรือความรู้เดิมไปขัดกับความรู้ใหม่นั่นเองเช่นเคยปิดประตูด้วยการภาพพอเจอประตูที่ต้องดึงเรามักจะใช้ทักษะเดิมทำให้เปิดประตูได้ช้าลง

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

Week4 09/09/58

leaning  psychology
จิตวิทยาที่ส่งอิทธิพลต้อการเรียนรู้


การรับรู้หมายถึง
กระบวนการการแปลความหมายต่อสิ่งที่รู้สึกได้จากการใช้อวัยวะรับสัมผัส sensory organ ได้แก่ ตา หู จมูก และร่างกาย และอวัยวะรับสัมผัสภายในกล้ามเนื้อ
การรับรู้การเรียนการสอน
1. ถ้าไม่มีการรับรู้ จะไม่มีการเรียนรู้
2. ยิ่งผู้เรียนใช้ประสาทสัมผัสมากยิ่งเรียนรู้มาก
3. การรับรู้ที่ถูกต้อง เช่น การใช้รูปภาพเพื่อสื่อความหมายต้องทำให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่ต้องการจะสื่อได้เหมือนหรือใกล้เคียงกัน
 4. ความคิดรวบยอดจากรูปธรรมไปนามธรรม เช่นความกลม  เป็นต้น

การรับรู้                                                                                    
1. แรงจูงใจและการจูใจ แรงจูงใจ  ( motive)                                                                                  
2. การเสริมแรง ( Reinforcement)                                                                                              
3. รูปแบบการเรียนรู้ ( Learning style )

แรงจูงใจและการจูงใจ (Motive  and motivation)
การจูงใจเป็นเป็นกระบวนการที่ควบคุมและรักษาพฤติกรรมให้คงไว้   ตัวอย่างเช่น



ประเภทการจูงใจมี 2 ประเภท                                                                                  
           แรงจูงใจภายใน (Intrinsic motives)  แรงจูงใจภายในเป็นสิ่งผลักดันจากภายในตัว บุคคลซึ่งอาจจะเป็นเจตคติ ความคิด ความสนใจ ความตั้งใจ การมองเห็นคุณค่า ความพอใจ ความต้องการฯลฯสิ่งต่างๆดังกล่าวนี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมค่อนข้างถาวรเช่นคนงานที่เห็นองค์การคือสถานที่ให้ชีวิตแก่เขาและครอบครัวเขาก็จะจงรักภักดีต่อองค์การ และองค์การบางแห่งขาดทุนในการดำเนินการก็ไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนที่ดีแต่ด้วยความผูกพันพนักงานก็ร่วมกันลดค่าใช้จ่ายและช่วยกันทำงานอย่างเต็มที่ 
                  
          แรงจูงใจภายนอก (Extrinsic motives)  แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันภายนอกตัว     บุคคลที่มากระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมอาจจะเป็นการได้รับรางวัล เกียรติยศชื่อเสียง คำชม หรือยกย่อง แรงจูงใจนี้ไม่คงทนถาวรบุคคลแสดงพฤติกรรมเพื่อตอบสนองสิ่งจูงใจดังกล่าวเฉพาะกรณีที่ต้องการสิ่งตอบแทนเท่านั้น

แรงจูงใจกับการเรียนการสอน 
1. สนับสนุนให้ผู้เรียนทำงานและเล่นด้วยกัน
2. ปฏิบัติต่อผู้เรียนด้วยความจริงใจและเคารพในตัวผู้เรียน
3. ใช้สื่อการเรียนการสอนเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาโดยง่ายและเร้าความสนใจ
4. ไม่ข่มขู่คุกคามผู้เรียน
5. รับฟังความคิดเห็นของผู้เรียนแต่ละคน

                                                อับราฮัม มาสโลว์  abraham maslow


                มาสโลว์มองว่า  มนุษย์แต่ละคนทีศักยภาพพอสำหรับที่จะชี้นำตัวเอง  มนุษย์ไม่อยู่นิ่งแต่จะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ต่างๆ  ที่แวดล้อมและแสวงหาความต้องการที่จะเข้าใจตนเอง  ยอมรับตนเองทั้งในส่วนดีส่วนบกพร่อง  รู้จักจุดอ่อน  และความสามารถของตนเอง  เขาได้อธิบายว่า  มนุษย์ทุกคนมีความต้องการที่จะสนองความต้องการให้กับตนเองทั้งสิ้น  และความต้องการของมนุษย์มีมากมายหลายอย่างด้วยกัน  ซึ่งต้องได้รับความพึงพอใจจากความต้องการพื้นฐานหรือต่ำสุดเสียก่อนจึงจะผ่านขึ้นไปยังความต้องการขั้นสูงตามลำดับ


การเสริมแรง ( Reinforcement )                                                                                                                           การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจ เมื่อทำพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งแล้ว เพื่อให้ทำพฤติกรรมนั้นซ้ำ ๆ อีก


การเสริมแรงเป็นการให้สิ่งใดๆ หลังจากเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์แล้ว เพื่อให้แสดงพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก สิ่งต่างๆที่ให้นั้นเรียกว่า "ตัวเสริมแรง" สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท
   1. ตัวเสริมแรงทางบวก เป็นสิ่งที่ได้รับพึงพอใจและแสดงพฤติกรรมนั้นอีก
   2. ตัวเสริมแรงทางลบ เป็นสิ่งที่นำออกไปแล้วจะทำให้แสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์นั้นเพิ่มมากขึ้น

การเสริมแรงทางบวก positive reinforcement
   1. ตัวเสริมแรงทางบวกที่เป็นสิ่งของเช่น เช่น อาหาร ของรางวัล คะแนน ของเล่น เป็นต้น
   2. ตัวเสริมแรงทางบวกทางสังคม
   3. ตัวเสริมแรงทางบวกที่เป็นกิจกรรม เช่น การเลือกทำสิ่งที่ชอบ สิ่งที่ต้องการ การเล่นเกมกีฬา 

การแสริมแรงทางลบ negative reinforcement
          เป็นสิ่งที่ผู้รับต้องการหลีกเลี่ยงไม่พึงพอใจและหาทางออกโดยการแสดงพฤติกรรมอื่นแทนตัวเสริมแรงทางลบเช่น คำพูดเยาะเย้ย ประชดประชัน เสียดสี หรือข่มขู่ การวิพากษ์วิจารณ์การดู การหักคะแนน การให้ยืนหน้าห้องเรียน หรือ ให้ออกนอกห้องเรียน

หลักการทั่วไปของการเสริมแรง
  1.เสริมแรงทันที
  2.แสดงพฤติกรรมที่ต้องการก่อนจึงจะได้รับตัวเสริม
  3.ระบุพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์และตัวเสริแรงให้ชัด เช่น ปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะได้รางวัล
  4.พฤติกรรมใกล้เคียงกับสิ่งพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์ที่ไม่ควรเสริมแรง

รูปแบบการเรียนรู้ Learning Style      
         แบบการเรียนรู้เป็นลักษณะหรือวิธีการจำเพาะของแต่ละบุคคลที่ใช้ในการเรียนรู้ การคิด การแก้ไขปัญหาซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการรับรู้ และจดจำข้อมูล ข้อเท็จจริง  มโนทัศน์ต่างๆ ช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ของแต่ละคน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะผู้สอนสามารถจัดประสบการณ์และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับแบบการเรียนรู้

มนุษย์เรานั้นสามารถรับข้อมูลโดยผ่านเส้นทางการรับรู้ได้ 3 ทาง คือ

   1. ผู้ที่เรียนรู้ทางสายตา (Visual Learner)

   2. ผู้ที่เรียนรู้ทางโสตประสาท (Auditory Learner)

   3. ผู้ที่เรียนรู้ทางร่างกายและความรู้สึก (Kinesthetic Learner)

ปัจจัยทำให้การเรียนรู้ไม่เหมือนกัน
   1. เพศ

   2. อายุ

   3. ระดับการศึกษา

   4. กระบวนการทางสมอง

   5. วัฒนธรรม

   6. ทักษะการเรียน







วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

week3 02/09/2558



แผนการจัดการเรียนรู้


ความหมายแผนการจัดการเรียนรู้ มี 2 ความหมายคือ 

       ความหมายที่ 1  คือ การนำวิชาหรือกลุ่มประสบการร์ที่จะต้องทำแผนการจัดการเรียนรุ้ตลอดภาคเรียนมาสร้างเป็นแบบการจัดกิจกรรม การจัดการเรียนรุ้ การใช้สื่อ อุปกรณ์การจัดการเรียนรุ้ และการวัดผล ประเมินผล โดยจัดเนื้อหาสาระจุดประสงค์การเรียนย่อยๆ

     ความหมายที่  2  คือ  แผนการสอนนั่นเอง แต่เปนแผนที่เน้นให้นักเรียนได้พัฒนาการเรียนของตนด้วยกิจกรรมหลากหลาย มีครุเปนผุ้แนะนำหรือจัดแนวการเรียนแก่นักเรียน ควรจัดกิจกรรมให้รุ้จักคิด รุ้จักค้นคว้า วิเคราะห์วิจารณ์ข้อมูล และสังเคราะห์เป็นความรู้ของคนเอง นักเรียนอ่านหนังสือ จดบันทึกและควรจะได้เรียนรุ้จากแหล่งเรียนรุ้ที่หลากหลาย เรียนรุ้จากวิทยากรในท้องถิ่น จากสถานที่ต่างๆในขุมชน จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเตอร์เน็ต ซีดีรอม วีดีทัศน์ เป็นต้น

ความสำคัญของแผนการจัดการเรียนรุ้
สงบ ลักษณะ (2533) ได้อธิบายถึงผลดีของการจัดทำแผนการเรียนรุ้ไว้ ดังนี้
       - ทำให้เกิดการวางแผนวิธีจัดการรียนรุ้ วิธีเรียนที่มีความหมายมากยิ่งขึ้น เพราะเปนการจัดทำอยางมีหลักการที่ถุกต้อง
       -  ช่วยให้ครุมีสื่อการจัดการเรียนรุ้ทีทำด้วยตนเอง ทำให้กิดความสะดวกในการจัดการเรียนรุ้ ทำให้จัดการเรียนรุ้ได้ครบถ้วนตรงตามหลักสุตรและจัดการเรียนรุ้ได้ทันเวลา
       -  ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ครุผุ้จัดการเรียนรุ้แทน ในกรณีที่ผุ้จัดการเรียนไม่สามารถจัดการเรียนรุ้ได้เอง

องค์ประกอบของแผนจัดการเรียนรุ้
     1. สาระสำคัญเป็นการเรียนในลักษณธเป็นความคิดรวบยอด (Concept)
     2. จุดประสงค์การเรียนรุ้ เขียนในลักษณธจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (เมื่อเรียนจบผู้เรียนบรรลุตามตัวชี้วัด และมาตราฐานการเรียนรุ้ที่กำหนด)
     3. สาระการเรียนรุ้
     4. กิจกรรมการเรียนรุ้ (วิธีสอน + กระบวนการจัดกิจกรรม + เทคนิคการสอน) โดยออกแบบการจัดกิจกรรมแต่ละชั่วโมงอย่างชัดเจน
     5. สื่อ แหล่งการเรียนรุ้ (ใบความรุ้ + ใบงาน + แบบฝึกทักษะ) บอกแหล่งเรียนรุ้ที่สำคัญ
     6. การวัดและประเมินผล (หลักฐานการเรียนรุ้ + ร่องรอยการเรียนรุ้ + วิธีการวัดและประเมินผล + เครื่องมือในการวัดและประเมินผล)
     7. บันทึกผลการจัดการเรียนรุ้สำหรับผุ้สอน

หลักในการเขียนแผนการจัดการการเรียนรุ้
    1. เขียนให้ชัดเจน แจ่มแจ้งในทุกหัวข้อ เพื่อให้ความกระจ่างแก่ผู้อ่านไม่ย่นย่อและไม่ละเอียดเกินไป
    2. ใช้ภาษาเขียนที่สื่อความหมายให้เข้าใจตรงกัน
    3. เขียนทุกข้อ ทุกหัวเรื่องให้สอดคล้องกัน
    4. สาระสำคัญต้องสอดคล้องกัน
    5. จุดประสงค์ต้องสอดคล้องกับเนื้อหา กิจกรรมและการวัดผล
    6. สื่อการสอนต้องสอดคล้องกับกิจกรรมและการวัดผล
    7. เขียนให้เปนลำดับขั้นตอนก่อนหลังในทุกหัวข้อ
    8. เขียนหัวข้อให้ถุกต้อง เช่น จุดประสงค์ต้องเขียนให้เปนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
    9. จัดเนื้อหา กิจกรรม ให้เหมาะสมกับเวลาที่กำหนดให้
   10. คิดกิจกรมที่น่าสนใจอยุ่เสมอ
   11. เขียนให้เปนระเบียบ ง่ายแก่การอ่าน
   12. เขียนในสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้จริงและสอนตามที่ได้วางแผนไว้
   13. หาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรุ้

พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความคิด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย  6 ระดับ ได้แก่
    1.  ความรู้ (Knowledge) เป็นความสามารถในการจดจำแนกประสบการณ์ต่างๆและระลึกเรื่องราวนั้นๆออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ
    2.      ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถบ่งบอกใจความสำคัญของเรื่องราวโดยการแปลความหลัก ตีความได้ สรุปใจความสำคัญได้
    3.      การนำความรู้ไปประยุกต์ (Application) เป็นความสามารถในการนำหลักการ กฎเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่างๆของเรื่องที่ได้รู้มา นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้
    4.     การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวที่สมบูรณ์ให้กระจายออกเป็นส่วนย่อยๆได้อย่างชัดเจน
    5.      การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกัน โดยปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น
    6. การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการวินิจฉัยหรือตัดสินกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป การประเมินเกี่ยวข้องกับการใช้เกณฑ์คือ มาตรฐานในการวัดที่กำหนดไว้





วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

week2 26/8/2558

กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


           กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                 • ด้านร่างกาย

                 • ด้านอารมณ์

                 • ด้านสังคม

                 • ด้านสติปัญญา

                -           ความรู้
                -           ทักษะ
                -           เจตคติ (ลักษณะนิสัย)
                -           IQ
                -           EQ
                -           MQ
                -           Etc


แนวทางในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

        การวิเคราะห์หลักสูตร => การจัดการเรียนรู้ => ผู้เรียนเป็นสำคัญ

           

แนวคิดของจอร์น ดิวอี้ (John Dewey)

ประวัติ

     จอห์น ดิวอี้ (อังกฤษ: John Dewey) (20 ตุลาคม ค.ศ. 1859 – 1 มิถุนายน ค.ศ. 1952) เป็นนักปรัชญา 
นักจิตวิทยา และนักปฏิรูปการศึกษาชาวอเมริกัน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัย   เวอร์มอนต์ ในปี ค.ศ. 1879 หลังจากนั้นใช้เวลาว่างช่วงสั้นๆ เป็นอาจารย์สอนพิเศษที่โรงเรียนมัธยม 
แห่งหนึ่ง ก่อนจะกลับมาศึกษาต่อจนจบปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ในปี ค.ศ. 1884
          ดูอีเคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิชาปรัชญา จิตวิทยา และการสอน ของมหาวิทยาลัยชิคาโก 
เขามีบทบาทสำคัญในการบุกเบิกแนวคิดและวิธีการสอนแบบใหม่ๆ ทั้งยังได้สร้างโรงเรียนสาธิตขึ้น 
เพื่อใช้สำหรับทดสอบพัฒนาและวิเคราะห์ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนการสอนและที่สำคัญ ยังถือได้ว่าเขา 
เป็นนักปรัชญาทางการศึกษาแนวหน้าของโลก โดยมีปรัชญามากมายซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่แตกแขนง ออกไปอย่างมากมาย

 แนวคิด
การเรียนรู้จากการกระทำ (Learning  by Doing) ที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง
จากการทำจริงในทุกกสถานการณ์จริง

หลักการที่สำคัญของการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (กรมวิชาการ, 2544)

1. การวิเคราะห์ผู้เรียน

2. การใช้จิตวิทยาการเรียนรู้

3. การวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

4. การออกแบบการเรียนรู้ตามสภาพจริง

5. การออกแบบการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง


แนวทางในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1. หลักการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ต้องตอบคำถามต่อไปนี้

-  สอนเพื่อใคร

- สอนเพื่ออะไร

- สอนอย่างไร

- สอนทำไม

- สอนแล้วจะเกิดผลอะไรบ้าง

แผนการสอนจึงต้องกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ / แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนบรรลุตามจุดประสงค์ / กำหนดวิธีการวัดผลการเรียนรู้

2.  ขั้นตอนการเขียนแผนการสอน

  -  กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

  -  จุดประสงค์รายวิชาต้องครอบคลุม ความรู้ทักษะ และเจตคติ

 -  กำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอน

 - เทคนิคการสอน/สื่อและเทคโนโลยี

 - การวัดและการประเมินผล


กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบการสอน






วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

week1 19/08/2558

         

 Present 

      วันนี้เป็นวัน Present งานเกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาทางการเรียนคอมพิวเตอร์ จากสัปดาห์แรกที่อาจารย์ได้สั่งงาน ก่อนที่จะพรีเซนต์ อาจารย์มีใบงานให้ทำก่อนเรียน คือ ให้เขียนชื่อเพื่อนลงไปตามเวลาที่กำหนดให้ 


หลังจากเขียนรายชื่อเพื่อนเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ได้เลือกเวลา คือ 9;00 เราเขียนชื่อคนไหนก็ให้จับคู่กับเพื่อนที่เราได้เขียนลงไป อาจารย์มีคำถามให้ คือ 

1. มนุษย์เรียนรู้ได้จากใคร/ที่ใดบ้าง
ตอบ  1. เรียนรู้จากคุณครู
         2. เรียนรู้จากพ่อ-แม่ 
         3. เรียนรู้จากเพื่อนร่วมงาน
         4. เรียนรู้จากหนังสือ
         5. เรียนรู้จากสิ่งมีชีวิตรอบกาย
         6. เรียนรู้จากเว็บไซต์

2. ทำไมต้องจัดการเรียนรู้
ตอบ  เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่คาดหวังไว้

3. การจักการเรียนรู้ที่ดีต้องคำนึงถึงอะไร
ตอบ  1. ความต้องการของผู้เรียน
         2. สื่อการเรียนรู้
         3. จุดประสงค์ของการเรียนรู้
         4. สภาพแวดล้อมทั่วไปของแห่งเรียนรู้

ความรู้เพิ่มเติม การเรียนรู้ที่ดีต้องคำนึงถึง 
         1. เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
         2. มีส่วนร่วมในการเรียนรู้
         3. แรงจูงใจแรงบันดานใจ
         4. จุดประสงค์ของการเรียนรู้

จุดมุ่งหมายของหลักสูตร (พรบ.การศึกษา)
         1. เป็นคนดี
         2. มีปัญญาดี
         3. มีคุณภาพชีวิตที่ดี
         4. มีความสามรถในการแข่งขัน
         5. เพิ่มศักยภาพของผู้เรียน
         6. ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

การเรียนรู้แบ่งเป็น 3 อย่าง คือ 
         1.Congnitive Domain เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านความรู้ ความเข้าใจ เช่น การเรียนรู้ความคิดรวบยอด
         2.  Affective  Domain   เป็นพฤติกรรมทางด้านจิตใจ ซึ่งจะเกี่ยวกับค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง
         3. Psychomotor Domain  เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายเพื่อให้เกิดความชำนาญหรือทักษะ เช่น การว่ายน้ำ เล่นกีฬาต่างๆ เล่นดนตรี เป็นต้น 

       ต่อมาเป็นการพรีเซนต์งาน ที่กลุ่มของดิฉันได้ไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาทางการเรียนคอมพิวเตอร์จากโรงเรียนอนุบาลจันทบุรี (พระยืน)



          หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้ความรู้เพิ่มเติม จากที่นักศึกษาได้ออกไปนำเสนองาน อาจารย์ได้ให้คำแนะนำกับนักศึกษา  แล้วให้นักศึกษาได้คิดตามหัวข้อที่อาจารย์ได้กำหนดให้ นักศึกษาควรจะแก้ปัญหาอย่างไรและทำสื่ออย่างไรให้ตรงตามจุดประสงค์และความต้องการของผู้เรียน