วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

Week4 09/09/58

leaning  psychology
จิตวิทยาที่ส่งอิทธิพลต้อการเรียนรู้


การรับรู้หมายถึง
กระบวนการการแปลความหมายต่อสิ่งที่รู้สึกได้จากการใช้อวัยวะรับสัมผัส sensory organ ได้แก่ ตา หู จมูก และร่างกาย และอวัยวะรับสัมผัสภายในกล้ามเนื้อ
การรับรู้การเรียนการสอน
1. ถ้าไม่มีการรับรู้ จะไม่มีการเรียนรู้
2. ยิ่งผู้เรียนใช้ประสาทสัมผัสมากยิ่งเรียนรู้มาก
3. การรับรู้ที่ถูกต้อง เช่น การใช้รูปภาพเพื่อสื่อความหมายต้องทำให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่ต้องการจะสื่อได้เหมือนหรือใกล้เคียงกัน
 4. ความคิดรวบยอดจากรูปธรรมไปนามธรรม เช่นความกลม  เป็นต้น

การรับรู้                                                                                    
1. แรงจูงใจและการจูใจ แรงจูงใจ  ( motive)                                                                                  
2. การเสริมแรง ( Reinforcement)                                                                                              
3. รูปแบบการเรียนรู้ ( Learning style )

แรงจูงใจและการจูงใจ (Motive  and motivation)
การจูงใจเป็นเป็นกระบวนการที่ควบคุมและรักษาพฤติกรรมให้คงไว้   ตัวอย่างเช่น



ประเภทการจูงใจมี 2 ประเภท                                                                                  
           แรงจูงใจภายใน (Intrinsic motives)  แรงจูงใจภายในเป็นสิ่งผลักดันจากภายในตัว บุคคลซึ่งอาจจะเป็นเจตคติ ความคิด ความสนใจ ความตั้งใจ การมองเห็นคุณค่า ความพอใจ ความต้องการฯลฯสิ่งต่างๆดังกล่าวนี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมค่อนข้างถาวรเช่นคนงานที่เห็นองค์การคือสถานที่ให้ชีวิตแก่เขาและครอบครัวเขาก็จะจงรักภักดีต่อองค์การ และองค์การบางแห่งขาดทุนในการดำเนินการก็ไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนที่ดีแต่ด้วยความผูกพันพนักงานก็ร่วมกันลดค่าใช้จ่ายและช่วยกันทำงานอย่างเต็มที่ 
                  
          แรงจูงใจภายนอก (Extrinsic motives)  แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันภายนอกตัว     บุคคลที่มากระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมอาจจะเป็นการได้รับรางวัล เกียรติยศชื่อเสียง คำชม หรือยกย่อง แรงจูงใจนี้ไม่คงทนถาวรบุคคลแสดงพฤติกรรมเพื่อตอบสนองสิ่งจูงใจดังกล่าวเฉพาะกรณีที่ต้องการสิ่งตอบแทนเท่านั้น

แรงจูงใจกับการเรียนการสอน 
1. สนับสนุนให้ผู้เรียนทำงานและเล่นด้วยกัน
2. ปฏิบัติต่อผู้เรียนด้วยความจริงใจและเคารพในตัวผู้เรียน
3. ใช้สื่อการเรียนการสอนเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาโดยง่ายและเร้าความสนใจ
4. ไม่ข่มขู่คุกคามผู้เรียน
5. รับฟังความคิดเห็นของผู้เรียนแต่ละคน

                                                อับราฮัม มาสโลว์  abraham maslow


                มาสโลว์มองว่า  มนุษย์แต่ละคนทีศักยภาพพอสำหรับที่จะชี้นำตัวเอง  มนุษย์ไม่อยู่นิ่งแต่จะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ต่างๆ  ที่แวดล้อมและแสวงหาความต้องการที่จะเข้าใจตนเอง  ยอมรับตนเองทั้งในส่วนดีส่วนบกพร่อง  รู้จักจุดอ่อน  และความสามารถของตนเอง  เขาได้อธิบายว่า  มนุษย์ทุกคนมีความต้องการที่จะสนองความต้องการให้กับตนเองทั้งสิ้น  และความต้องการของมนุษย์มีมากมายหลายอย่างด้วยกัน  ซึ่งต้องได้รับความพึงพอใจจากความต้องการพื้นฐานหรือต่ำสุดเสียก่อนจึงจะผ่านขึ้นไปยังความต้องการขั้นสูงตามลำดับ


การเสริมแรง ( Reinforcement )                                                                                                                           การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจ เมื่อทำพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งแล้ว เพื่อให้ทำพฤติกรรมนั้นซ้ำ ๆ อีก


การเสริมแรงเป็นการให้สิ่งใดๆ หลังจากเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์แล้ว เพื่อให้แสดงพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก สิ่งต่างๆที่ให้นั้นเรียกว่า "ตัวเสริมแรง" สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท
   1. ตัวเสริมแรงทางบวก เป็นสิ่งที่ได้รับพึงพอใจและแสดงพฤติกรรมนั้นอีก
   2. ตัวเสริมแรงทางลบ เป็นสิ่งที่นำออกไปแล้วจะทำให้แสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์นั้นเพิ่มมากขึ้น

การเสริมแรงทางบวก positive reinforcement
   1. ตัวเสริมแรงทางบวกที่เป็นสิ่งของเช่น เช่น อาหาร ของรางวัล คะแนน ของเล่น เป็นต้น
   2. ตัวเสริมแรงทางบวกทางสังคม
   3. ตัวเสริมแรงทางบวกที่เป็นกิจกรรม เช่น การเลือกทำสิ่งที่ชอบ สิ่งที่ต้องการ การเล่นเกมกีฬา 

การแสริมแรงทางลบ negative reinforcement
          เป็นสิ่งที่ผู้รับต้องการหลีกเลี่ยงไม่พึงพอใจและหาทางออกโดยการแสดงพฤติกรรมอื่นแทนตัวเสริมแรงทางลบเช่น คำพูดเยาะเย้ย ประชดประชัน เสียดสี หรือข่มขู่ การวิพากษ์วิจารณ์การดู การหักคะแนน การให้ยืนหน้าห้องเรียน หรือ ให้ออกนอกห้องเรียน

หลักการทั่วไปของการเสริมแรง
  1.เสริมแรงทันที
  2.แสดงพฤติกรรมที่ต้องการก่อนจึงจะได้รับตัวเสริม
  3.ระบุพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์และตัวเสริแรงให้ชัด เช่น ปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะได้รางวัล
  4.พฤติกรรมใกล้เคียงกับสิ่งพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์ที่ไม่ควรเสริมแรง

รูปแบบการเรียนรู้ Learning Style      
         แบบการเรียนรู้เป็นลักษณะหรือวิธีการจำเพาะของแต่ละบุคคลที่ใช้ในการเรียนรู้ การคิด การแก้ไขปัญหาซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการรับรู้ และจดจำข้อมูล ข้อเท็จจริง  มโนทัศน์ต่างๆ ช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ของแต่ละคน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะผู้สอนสามารถจัดประสบการณ์และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับแบบการเรียนรู้

มนุษย์เรานั้นสามารถรับข้อมูลโดยผ่านเส้นทางการรับรู้ได้ 3 ทาง คือ

   1. ผู้ที่เรียนรู้ทางสายตา (Visual Learner)

   2. ผู้ที่เรียนรู้ทางโสตประสาท (Auditory Learner)

   3. ผู้ที่เรียนรู้ทางร่างกายและความรู้สึก (Kinesthetic Learner)

ปัจจัยทำให้การเรียนรู้ไม่เหมือนกัน
   1. เพศ

   2. อายุ

   3. ระดับการศึกษา

   4. กระบวนการทางสมอง

   5. วัฒนธรรม

   6. ทักษะการเรียน







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น