วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

week3 02/09/2558



แผนการจัดการเรียนรู้


ความหมายแผนการจัดการเรียนรู้ มี 2 ความหมายคือ 

       ความหมายที่ 1  คือ การนำวิชาหรือกลุ่มประสบการร์ที่จะต้องทำแผนการจัดการเรียนรุ้ตลอดภาคเรียนมาสร้างเป็นแบบการจัดกิจกรรม การจัดการเรียนรุ้ การใช้สื่อ อุปกรณ์การจัดการเรียนรุ้ และการวัดผล ประเมินผล โดยจัดเนื้อหาสาระจุดประสงค์การเรียนย่อยๆ

     ความหมายที่  2  คือ  แผนการสอนนั่นเอง แต่เปนแผนที่เน้นให้นักเรียนได้พัฒนาการเรียนของตนด้วยกิจกรรมหลากหลาย มีครุเปนผุ้แนะนำหรือจัดแนวการเรียนแก่นักเรียน ควรจัดกิจกรรมให้รุ้จักคิด รุ้จักค้นคว้า วิเคราะห์วิจารณ์ข้อมูล และสังเคราะห์เป็นความรู้ของคนเอง นักเรียนอ่านหนังสือ จดบันทึกและควรจะได้เรียนรุ้จากแหล่งเรียนรุ้ที่หลากหลาย เรียนรุ้จากวิทยากรในท้องถิ่น จากสถานที่ต่างๆในขุมชน จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเตอร์เน็ต ซีดีรอม วีดีทัศน์ เป็นต้น

ความสำคัญของแผนการจัดการเรียนรุ้
สงบ ลักษณะ (2533) ได้อธิบายถึงผลดีของการจัดทำแผนการเรียนรุ้ไว้ ดังนี้
       - ทำให้เกิดการวางแผนวิธีจัดการรียนรุ้ วิธีเรียนที่มีความหมายมากยิ่งขึ้น เพราะเปนการจัดทำอยางมีหลักการที่ถุกต้อง
       -  ช่วยให้ครุมีสื่อการจัดการเรียนรุ้ทีทำด้วยตนเอง ทำให้กิดความสะดวกในการจัดการเรียนรุ้ ทำให้จัดการเรียนรุ้ได้ครบถ้วนตรงตามหลักสุตรและจัดการเรียนรุ้ได้ทันเวลา
       -  ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ครุผุ้จัดการเรียนรุ้แทน ในกรณีที่ผุ้จัดการเรียนไม่สามารถจัดการเรียนรุ้ได้เอง

องค์ประกอบของแผนจัดการเรียนรุ้
     1. สาระสำคัญเป็นการเรียนในลักษณธเป็นความคิดรวบยอด (Concept)
     2. จุดประสงค์การเรียนรุ้ เขียนในลักษณธจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (เมื่อเรียนจบผู้เรียนบรรลุตามตัวชี้วัด และมาตราฐานการเรียนรุ้ที่กำหนด)
     3. สาระการเรียนรุ้
     4. กิจกรรมการเรียนรุ้ (วิธีสอน + กระบวนการจัดกิจกรรม + เทคนิคการสอน) โดยออกแบบการจัดกิจกรรมแต่ละชั่วโมงอย่างชัดเจน
     5. สื่อ แหล่งการเรียนรุ้ (ใบความรุ้ + ใบงาน + แบบฝึกทักษะ) บอกแหล่งเรียนรุ้ที่สำคัญ
     6. การวัดและประเมินผล (หลักฐานการเรียนรุ้ + ร่องรอยการเรียนรุ้ + วิธีการวัดและประเมินผล + เครื่องมือในการวัดและประเมินผล)
     7. บันทึกผลการจัดการเรียนรุ้สำหรับผุ้สอน

หลักในการเขียนแผนการจัดการการเรียนรุ้
    1. เขียนให้ชัดเจน แจ่มแจ้งในทุกหัวข้อ เพื่อให้ความกระจ่างแก่ผู้อ่านไม่ย่นย่อและไม่ละเอียดเกินไป
    2. ใช้ภาษาเขียนที่สื่อความหมายให้เข้าใจตรงกัน
    3. เขียนทุกข้อ ทุกหัวเรื่องให้สอดคล้องกัน
    4. สาระสำคัญต้องสอดคล้องกัน
    5. จุดประสงค์ต้องสอดคล้องกับเนื้อหา กิจกรรมและการวัดผล
    6. สื่อการสอนต้องสอดคล้องกับกิจกรรมและการวัดผล
    7. เขียนให้เปนลำดับขั้นตอนก่อนหลังในทุกหัวข้อ
    8. เขียนหัวข้อให้ถุกต้อง เช่น จุดประสงค์ต้องเขียนให้เปนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
    9. จัดเนื้อหา กิจกรรม ให้เหมาะสมกับเวลาที่กำหนดให้
   10. คิดกิจกรมที่น่าสนใจอยุ่เสมอ
   11. เขียนให้เปนระเบียบ ง่ายแก่การอ่าน
   12. เขียนในสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้จริงและสอนตามที่ได้วางแผนไว้
   13. หาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรุ้

พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความคิด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย  6 ระดับ ได้แก่
    1.  ความรู้ (Knowledge) เป็นความสามารถในการจดจำแนกประสบการณ์ต่างๆและระลึกเรื่องราวนั้นๆออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ
    2.      ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถบ่งบอกใจความสำคัญของเรื่องราวโดยการแปลความหลัก ตีความได้ สรุปใจความสำคัญได้
    3.      การนำความรู้ไปประยุกต์ (Application) เป็นความสามารถในการนำหลักการ กฎเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่างๆของเรื่องที่ได้รู้มา นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้
    4.     การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวที่สมบูรณ์ให้กระจายออกเป็นส่วนย่อยๆได้อย่างชัดเจน
    5.      การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกัน โดยปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น
    6. การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการวินิจฉัยหรือตัดสินกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป การประเมินเกี่ยวข้องกับการใช้เกณฑ์คือ มาตรฐานในการวัดที่กำหนดไว้





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น